กติกาฟุตบอล 17 ข้อ อัพเดทล่าสุด

กติกาฟุตบอลและกฎต่างๆ ถูกกำหนดขึ้นมาโดย IFAB หรือก็คือ คณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเหล่าสมาคมในยุโรปทั้งหมด รวมไปถึงฟีฟ่าอีกด้วย และตอนนี้กฎก็ไม่ได้มีเยอะมาก มีเพียง 17 ข้อเท่านั้น ล่าสุดที่ถูกแก้คือในปี 2016 ก่อนที่จะมีฟุตบอลยูโรในปีนั้นเอง

กติกาฟุตบอล

กติกาฟุตบอลข้อที่ 1 สนามฟุตบอล

ตัวสนาม

– สมาคมกำหนดให้สนามฟุตบอลต้องเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่านั้น
– ขนาดต่ำสุดต้อง กว้างไม่ต่ำกว่า 50 หลาไม่เกิน 100 หลา ส่วนด้านยาว ต่ำสุด 100 หลาไม่เกิน 130 หลา

ส่วนเครื่องหมายต่างๆที่ตีเส้นไว้

– จะต้องมีความหนาไม่เกิน 5 นิ้ว หรือ 12 เซนติเมตร
– เส้นจะเป็นเส้นที่คอยกั้นพื้นที่ของเขต ในสนามแข่ง
– เส้นเขตสนาม อยู่รอบเขตสนาม ส่วนที่สั้นเรียก เส้นประตู ส่วนที่ยาวเรียก เส้นข้าง
– เส้นแบ่งเขตแดน แบ่งสนามตามขวางเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน
– จุดกึ่งกลางสนาม อยู่กึ่งกลางเส้นแบ่งเขตแดน มีวงกลมรัศมี 10 หลาล้อมรอบจุดไว้
– เขตโทษ คือพื้นที่ที่เกิดจากการลากเส้นจากเสาประตูทั้ง 2 ฝั่งขนานกับเส้นประตู ออกจากประตูยาว 16.5 เมตร แล้วลากเส้นตั้งฉากกับเส้นประตู เข้าหาสนามยาว 16.5 เมตร แล้วเชื่อมด้วยเส้นตรง
– จุดโทษ อยู่ในเขตโทษ ห่างจากเสาประตู 12 หลา มีการเขียนส่วนโค้งนอกเขตโทษ รัศมีห่างจากจุดโทษ 10 หลา
– เส้นประตู เชื่อมระหว่างโคนเสาประตูทั้ง 2 ฝั่ง

ประตูโกล์

– ระยะห่างระหว่างเสาประตูต้องมีขนาด 7.32 เมตร หรือ 8 หลา คานสูงต้องยกสูงจากพื้น 2.44 เมตร หรือ 8 ฟุต
– เสาและคานประตูจะต้องมีความกว้างเท่ากับเส้นประตู
– สีทุกส่วนของประตูจะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น
– ต้องติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรงเพื่อความปลอดภัย มีตาข่ายหรือไม่มีก็ได้
– เขตประตู คือพื้นที่ที่เกิดจากการลากเส้นจากเสาประตูทั้ง 2 ฝั่งตั้งฉากกับเส้นประตู เข้าหาสนามยาว 6 หลา แล้วเชื่อมด้วยเส้นตรง

เสาธงของทุกมุม

– ต้องมีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร
– จะต้องไม่มียอดแหลม
– ปักไว้ที่มุมสนามให้ครบทุกมุม

กติกาฟุตบอลข้อที่ 2 ลูกฟุตบอล

– ต้องเป็นทรงกลม ทำจากหนังหรือวัสดุอื่นๆที่ได้รับอนุญาต
– ต้องมีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น
– เส้นรอบวงประมาณ 68-70 เซนติเมตร
– น้ำหนักประมาณ 410-450 กรัม

การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุดเมื่อลูกบอลอยู่ในการเล่น

– หยุดการเล่น เปลี่ยนลูกบอล
– เริ่มเล่นใหม่ด้วยการปล่อยลูกบอล ณ จุดที่ลูกบอลชำรุด
– การเปลี่ยนลูกบอลต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเท่านั้น

การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุดเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น

– เปลี่ยนลูกบอล
– เริ่มเล่นใหม่ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

กติกาฟุตบอลข้อที่ 3 จำนวนผู้เล่น

– ผู้เล่นแต่ละทีมลงได้สูงสุด 11 คน รวมถึงผู้รักษาประตู
– แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง
– ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่นตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม (การแข่งขันเพื่อจุดประสงค์ปกติที่แข่งเพื่อคว้าแชมป์จะเปลี่ยนได้แค่ 3 คนเท่านั้น เมื่อ 18 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ฟีฟ่ามีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนตัวสำรองคนที่ 4 ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการแข่งขันกระชับมิตรหรือเฉลิมฉลองสร้างความสัมพันธ์จะเปลี่ยนตัวรองได้ไม่จำกัด )
– ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน11คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน
– ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน ถ้าเป็นการแข่งทั่วไปหรือเชื่อมความสัมพันธ์กระชับมิตร สามารถกำหนดจำนวนตัวสำรองได้ โดยต้องแจ้งให้กรรมการทราบก่อนการแข่งขัน

การแข่งขันทุกรายการ

– บัญชีผู้เล่นต้องส่งให้ผู้ตัดสินก่อนการแข่งขัน
– ผู้เล่นสำรองไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อประจำวันที่แข่งขัน จะไม่สามารถเข้าร่วม การแข่งขันได้

ขั้นตอนการเปลี่ยนตัว

– แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ
– ได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน
– เข้าได้เมื่อบอลอยู่นอกการเล่นเข้าสนามที่เส้นแบ่งแดนเท่านั้น
– การเปลี่ยนตัวจะสมบูรณ์เมื่อเข้าไปในสนาม
– ผู้เล่นสำรองที่เปลี่ยนตัวจะเป็นผู้เล่นทันทีที่ผู้เล่นถูกเปลี่ยนตัวออกได้ออกจากสนามและผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวเข้าได้เข้าสนาม
– ผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไม่สามารถเข้าไปในสนามได้อีก

การกระทำผิดและการลงโทษ

– ถ้าผู้เล่นสำรองเข้าไปในสนามก่อนได้รับอนุญาต (ไม่ใช่การเปลี่ยนตัว)
– หยุดการเล่น
– คาดโทษผู้เล่นสำรอง
– ให้ออกจากสนามไปก่อน
– เริ่มเล่นใหม่โดยการปล่อยลูกบอล ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลง

การให้ออกของผู้เล่นและผู้เล่นสำรอง

– ผู้เล่นที่ถูกให้ออกก่อนการเริ่มเล่นสามารถเปลี่ยนผู้เล่นสำรองได้ (เปลี่ยนชื่อแทนไม่ได้)
– ผู้เล่นสำรองที่ถูกให้ออกหลังการเริ่มเล่นจะเปลี่ยนตัวแทนกันไม่ได้

กติกาฟุตบอลข้อที่ 4 อุปกรณ์ต่างๆของผู้เล่น

– ลูกฟุตบอล (ตามกฎข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก
– เครื่องแบบของนักกีฬา ทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขัน สมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกัน
– ทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน จะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้
– ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง 2 ทีม
– นักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้าและถุงเท้ายาว
– ผู้เล่นต้องไม่สวมใส่สิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอันตราย
– สนับแข้งต้องอยู่ภายใต้ถุงเท้ายาวต้องทำจากวัสดุที่เหมาะสม (ยาง,พลาสติกหรือวัสดุที่คล้ายกัน)

กติกาฟุตบอลข้อที่ 5 ผู้ตัดสิน

– ปฏิบัติตามกติกาและควบคุมการแข่งขัน
– มีผู้ช่วยผู้ตัดสินคอยให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามความเหมาะสม
– แน่ใจว่าลูกบอลทุกลูกทีใช้ในการแข่งขันถูกต้องตามกติกาข้อ 2
– แน่ใจว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 4
– รักษาเวลาการแข่งขัน รวมถึงเขียนรายงานการแข่งขัน
– พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราวหรือยุติการแข่งขัน หากเกิดการกระทำผิดกติกาการแข่งขันหรือมีสิ่งรบกวนจากภายนอกทุกชนิดทำการรบกวนการแข่งขัน
– สั่งหยุดการเล่นถ้าดุลยพินิจของเขาเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บหนัก
– อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไป ถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
– แน่ใจว่าผู้เล่นที่มีเลือดไหลออกจากบาดแผลได้ออกจากสนามแข่นขันแล้ว แ
– ควบคุมระเบียบวินัยโดยแสดงการต่อต้านต่อผู้เล่นที่กระทำผิดและต้องได้รับการคาดโทษ และการให้ออกจากการแข่งขัน
– ทำหน้าที่แสดงการต่อต้านเจ้าหน้าที่ทีมที่ขาดความรับผิดชอบในการควบคุมการประพฤติที่ดี และอาจพิจารณาให้ออกจากสนามแข่งขันและบริเวณแวดล้อมในทันที
– ปฏิบัติตามการช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินตามเหตุการณ์ที่ตนเองมองไม่เห็น
– แน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามแข่งขัน
– ให้ทำการเริ่มเล่นใหม่อีกครั้งหากเกมการแข่งขันได้หยุดลง
– กรรมการหรือผู้ตัดสินจะมีสิทธิ์ให้ใบเหลืองหรือใบแดงตามความเหมาะสม หากผู้เล่นกระทำกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามรุนแรงหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ตัดสินโดยตรงหรือกรณีอื่นๆ

กติกาฟุตบอลข้อที่ 6 ผู้ช่วยตัดสิน

– ผู้ช่วยผู้ตัดสินจะมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตัดสินในการควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน
– ในกรณีพิเศษผู้ช่วยผู้ตัดสินอาจเข้าไปในสนามได้เพื่อช่วยควบคุม
– ถ้าผู้ช่วยผู้ตัดสินเข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินเกินสมควร หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมผู้ตัดสินสามารถปลดเขาออกจากหน้าที่ และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจ

และได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่โดยเป็นผู้ชี้แนะในเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสนามตามนี้
– เมื่อลูกบอลทั้งลูกออกนอกสนาม
– ฝ่ายใดได้เตะจากมุม เตะจากประตู หรือได้ทุ่ม
– เมื่อผู้เล่นถูกลงโทษฐานอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า
– เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
– เมื่อมีการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นใกล้ผู้ช่วยผู้ตัดสินมากกว่าผู้ตัดสิน
– เมื่อมีการเตะลูกโทษ ต้องคอยควบคุมดูว่า ผู้รักษาประตูเคลื่อนที่ออกมาข้างหน้าก่อนจะถูกเตะหรือไม่ และต้องดูว่าลูกบอลข้ามเส้นประตูหรือไม่

กติกาฟุตบอลข้อที่ 7 ระยะเวลาการแข่งขัน

– การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง ครั้ง ละ 45 นาทีเท่ากัน
– ระยะเวลาของการแข่งขันแต่ละครึ่งเวลา อาจจะมีการเพิ่มการเตะโทษ ณ จุดโทษ
– เวลานอก ทั้งสองทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอกเป็นระยะเวลา 1 นาที ได้ในแต่ละครึ่งเวลา
– ผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการขอเวลานอก 1 นาที จากผู้รักษาเวลา
– การขอเวลานอก 1 สามารถร้องขอได้ตลอดเวลา แต่จะให้เวลานอก ก็ต่อเมื่อทีมได้เป็นฝ่ายครอบครองบอล
– ผู้รักษาเวลาต้องแสดงการอนุญาตสำหรับการขอเวลานอกของทีม
– เมื่ออนุญาตให้เป็นเวลานอก ผู้เล่นทุกคนต้องรวมกันอยู่ในสนามแข่งขัน
– ถ้าทีมไม่ใช้สิทธิ์ในการขอเวลานอกในครึ่งเวลาแรก จะไม่สามารถนำไปทดแทนในครึ่งเวลาหลังได้
– ถ้าไม่มีผู้รักษาเวลา ผู้ฝึกสอนต้องร้องขอเวลานอกได้จากผู้ตัดสิน

พักครึ่งเวลา

– ผู้เล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
– ต้องไม่เกิน 15 นาที
– ระเบียบการแข่งขันต้องระบุเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
– เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสิน

การชดเชยเวลาที่เสียไป

– สามารถทำได้ทั้งเกมแรกและเกมที่สอง
– การเปลี่ยนตัว
– การตรวจสอบผู้เล่นที่บาดเจ็บ
– การนำผู้เล่นที่บาดเจ็บออกนอกสนาม
– การถ่วงเวลาการเล่น
– สาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น
– การชดเชยเวลาอยู่ในดุลยพินิจของผู้ตัดสิน
– การเตะโทษ ณ จุดโทษอนุญาตให้เพิ่มเวลาสำหรับการเตะโทษ ณ จุดโทษ

การต่อเวลาพิเศษ

– กติกาการแข่งขันระบุเวลาของการเล่นไว้เป็น 2 ครึ่งเท่ากันและการต่อเวลาพิเศษ
– ถ้าระเบียบการแข่งขันระบุให้มีการต่อเวลาพิเศษ ในกรณีที่การแข่งขันในเวลาปกติ ถ้าผลการแข่งขันจบลงด้วยการเสมอกัน การแข่งขันในระหว่างการต่อเวลาพิเศษของการแข่งขัน จะไม่มีการขอเวลานอก

กติกาฟุตบอลข้อที่ 8 การเริ่มต้นการแข่งขัน

– เมื่อเริ่มเล่น ในการที่จะเลือกแดนหรือเลือกเตะเริ่มเล่นก่อน ให้ตัดสินโดยการเสี่ยงเหรียญ
– ฝ่ายที่ชนะเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกแดน
– ครึ่งเวลาทั้งสองทีมเปลี่ยนแดน

การเตะเริ่มเล่นใหม่

– หลังจากมีการทำประตูทุกครั้ง
– เริ่มเล่นครึ่งเวลาหลัง
– เริ่มเล่นแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษ
– สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะเริ่มเล่น

การกระทำผิด และการลงโทษการเตะเริ่มเล่น

– ผู้เตะสัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 ก่อนถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่นให้ฝ่ายตรงข้ามเตะโทษโดยอ้อม
– สำหรับการกระทำผิดอื่น ๆ ให้ทำการเตะเริ่มเล่นใหม่

การกระทำผิดและการลงโทษ

– ทำการปล่อยลูกบอลใหม่
– ลูกบอลถูกสัมผัสโดยผู้เล่นก่อนสัมผัสพื้นสนาม
– ลูกบอลออกนอกสนามแต่ไม่ถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดก่อน

กติกาฟุตบอลข้อที่ 9 บอลออกนอกสนาม

ลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นเมื่อ

– ลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดินหรือในอากาศออกไปทั้งลูก
– เมื่อผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่น

กติกาฟุตบอลข้อที่ 10 วิธีนับคะแนน

– ถ้าลูกฟุตบอลลอยข้ามเส้นประตูเต็มใบ โดยการเล่นลูกที่ถูกกติกา(ใช้เท้าหรือศีรษะ) ถือว่าได้ 1 คะแนน
– การตัดสินว่าทีมใดชนะ ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าในการแข่งขันจะเป็นผู้ชนะ ถ้าทำประตูได้หรือไม่ได้ เท่ากัน ถือว่า “เสมอกัน”

กติกาฟุตบอลข้อที่ 11 การล้ำหน้า

– ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของคู่ต่อสู้กว่าลูกบอล
– ผู้เล่นจะถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้าและจะถูกลงโทษ ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขณะที่ลูกโดนหรือลูกเล่นโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
– มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่น้อยกว่า 2 คน อยู่ใกล้เส้นประตูของเขา

เขาได้รับลูกโดยตรงจากการเตะจากประตู การทุ่มจากเส้นข้าง การเตะจากมุม หรือ การปล่อยลูกจากมือโดยผู้ตัดสิน
ถ้าผู้เล่นถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้า ผู้ตัดสินจะให้คู่ต่อสู้ได้เตะโทษโดยอ้อม ณ ที่ซึ่งการละเมิดกติกาได้เกิดขึ้น

การลงโทษ

– ถ้าผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ได้อยู่ใกล้เส้นประตูของฝ่ายตรงข้ามมากกว่าลูกบอล ถ้าผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าและผู้ตัดสินพิจารณาแล้วเห็นว่า
– ผู้เล่นเกี่ยวข้องกับการเล่น
– ผู้เล่นเกี่ยวข้องกับฝ่ายตรงข้าม
– ได้ประโยชน์จากการอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า

ผู้เล่นถึงแม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า จะไม่ถูกลงโทษถ้าผู้เล่นรับลูกบอลโดยตรงจากกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
– เตะจากประตู
– เตะจากมุม
– การทุ่ม

กติกาฟุตบอลข้อที่ 12 ฟาวล์

– เตะ หรือ พยายามจะเตะคู่ต่อสู้
– ขัดขาคู่ต่อสู้ คือทำหรือพยายามจะทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงด้วยการใช้ขา หรือด้วยการหมอบลงข้างหน้าหรือข้างหลัง
– กระโดดเข้าหาคู่ต่อสู้
– ชนคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง
– ชนคู่ต่อสู้ข้างหลัง นอกจากคู่ต่อสู้นั้นเจตนากีดกัน
– ทำร้าย หรือพยายามจะทำร้ายคู่ต่อสู้ หรือถ่มน้ำลายรดคู่ต่อสู้
– ฉุด ดึง คู่ต่อสู้
– ผลัก ดัน คู่ต่อสู้
– เล่นด้วยมือ คือ ทุบ ต่อย ปัด เตะลูกด้วยมือ หรือแขน

โทษโดยอ้อม

– เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย
– กีดขวางการเล่นของคู่ต่อสู้
– กีดขวางผู้รักษาประตูไม่ให้ปล่อยลูกบอลจากมือ
– ความผิดอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุในกติกาข้อ 12
– ครอบครองลูกบอลด้วยมือเกินกว่า 6 วินาที
– ภายหลังปล่อยลูกบอลแล้วเขาได้สัมผัสลูกบอลอีกครั้ง
– ใช้มือสัมผัสลูกบอลหลังจากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันเจตนาเตะส่งมาให้หรือจากการทุ่มลูก

คาดโทษผู้เล่นด้วยใบเหลือง

– ระพฤติตนอย่างไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
– แสดงการคัดค้านโดยคำพูดหรือกริยาท่าทาง
– กระทำผิดกติกาการแข่งขันบ่อย ๆ
– ชะลอการเริ่มเล่นใหม่
– การเริ่มเล่นใหม่ไม่ถอยห่างไปอยู่ในระยะที่ร้องขอ
– เข้าไปหรือกลับเข้าไปสมทบในสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
– เจตนาออกจากสนามโดยไม่ได้รับอนุญาต

คาดโทษไล่ออกต่อผู้เล่น

– กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
– ประพฤติผิดกติกาอย่างร้ายแรง
– ถ่มน้ำลายรดใส่คู่ต่อสู้หรือบุคคลอื่น
– ป้องกันฝ่ายตรงข้ามในการทำประตูได้อย่างชัดแจ้งโดยเจตนาเล่นลูกบอลด้วยมือ
– ป้องกันโอกาสในการทำประตูได้อย่างชัดแจ้งของฝ่ายตรงข้ามขณะเคลื่อนที่ตรงไปยังหน้าประตู
– ทำผิดซ้ำซาก วาจาหยาบคาย แสดงท่าทางไม่เหมาะสม
– ได้รับการคาดโทษครั้งที่ 2 ในการแข่งขันครั้งเดียวกัน

กติกาฟุตบอลข้อที่ 13 ฟรีคิก

– การเตะฟรีคิกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือล้ำหน้าตั้งแต่จุดที่ทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้า โดยจะผู้เล่นตั้งเตะลูกฟรีคิกตรงจุดที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้า
– เตะทีเดียวเข้าประตูฝ่ายตรงข้าม ถือว่า เป็นประตู
– จะถือว่าเป็นประตูต่อเมื่อลูกบอลได้ถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่น ๆ ก่อนที่จะเข้าประตู

กติกาฟุตบอลข้อที่ 14 ลูกโทษหรือการยิงจุดโทษ

– การยิงจุดโทษในเวลาการแข่งขันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์ตั้งแต่ในเขตโทษ
– การยิงลูกโทษจะเป็นการให้ผู้เล่นยิงดวลตัวต่อตัวกับผู้รักษาประตู โดยที่ผู้เล่นคนอื่นที่ไม่ได้มีหน้าที่ยิงจุดโทษหรือไม่ใช่ผู้รักษาประตูที่จะต้องเซฟจุดโทษจะต้องอยู่บริเวณนอกเขตโทษ จนกว่าผู้เล่นที่ยิงจุดโทษจะยิงประตูผู้เล่นคนอื่นจึงจะมีสิทธิ์วิ่งในเขตโทษได้
– ลูกบอลต้องวางนิ่ง
– ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะทีเดียวออกนอกเขตโทษโดยตรง
– ผู้เตะไม่สามารถสัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 จนกระทั่งถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่น
– เมื่อต่อเวลาพิเศษ30นาทีแล้วไม่มีทีมทำประตูได้หรือเสมอจะทำการยิงลูกที่จุดโทษ โดยจะใช้ผู้เล่นยิงสลับกันฝั่งละ 5 คนเมื่อยิงครบแล้วยังหาผู้ชนะไม่ได้ก็จะยิงต่อไปจนมีผู้ชนะ

กติกาฟุตบอลข้อที่ 15 การทุ่ม

– การทุ่ม ขณะแข่งขันลูกฟุตบอลได้ออกเส้นข้างไปทั้งลูก ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปบนอากาศก็ตาม ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายได้ทุ่ม
– เท้าทั้งสองข้างต้องติดพื้นตลอดเวลาการทุ่ม
– ต้องทุ่มด้วยมือทั้งสองข้าง ลูกบอลออกจากด้านหลังศีรษะ แขนทั้งสองข้างตึง
– ด้านหน้าของร่างกายหันหน้าเข้าหาสนามด้านไหนให้ทุ่มไปทางนั้น
– ย่อทุ่มได้ แต่ห้ามนั่งทุ่ม
– บอลออกเส้นข้าง ณ จุดใด ให้ทุ่ม ณ จุดนั้น
– ณ จุดที่มือปล่อยบอล เท้าหรือตัวของผู้ทุ่ม ห้ามห่างจากเส้นข้างเกิน หนึ่งเมตร
– ฝ่ายรับต้องยืนห่างจากผู้ทุ่ม ในสนามแข่งขัน อย่างน้อย ๒ เมตร
– ทุ่มทีเดียว โดยไม่สัมผัสผู้เล่นฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นประตู
– รับบอลจากการทุ่ม ไม่มีการล้ำหน้า
– ทุ่มบอลคืนให้ผู้รักษาประตู ผู้รักษาประตูใช้มือรับ ให้เตะลูกโทษโดยอ้อม ณ จุดเกิดเหตุ ทันที
– ส่วนของเท้าทั้งสองอยู่บนเส้นข้างหรือด้านนอกเส้นข้าง

กติกาฟุตบอลข้อที่ 16 การเตะจากประตู โกลคิก

– ฝ่ายตรงข้ามอยู่นอกเขตโทษจนกว่าลูกบอลอยู่นอกการเล่น
– เตะผ่านออกนอกเขตโทษโดยตรง
– ผู้เตะไม่เล่นลูกบอลเป็นครั้งที่ 2
– เตะจากจุดใดก็ได้ภายในเขตประตู
– สามารถทำประตูได้จากการเตะจากประตู

กติกาฟุตบอลข้อที่ 17 การเตะมุม

– ผู้เตะไม่สามารถสัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 จนกว่าผู้ถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่น
– ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่
– ไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายเสามุมธง ยกเว้นแต่ชำรุดเสียหายจากเหตุสุดวิสัย
– ลูกบอลวางในเขตมุม (ระหว่างในเส้นโค้งของมุมธง)
– ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามอยู่ห่างจากลูกบอล 9.15 เมตร หรือ 10 หลา

 

ติดตามผลบอลได้ที่นี่