ประศาสน์ เล่าบรรยากาศวงประชุม JBC ไทย-กัมพูชา ราบรื่นกว่าครั้งอื่น ชี้ ปกติอัดกันหนักกว่านี้ ยัน ไม่ได้เห็นชอบแผนที่ 1:200,000 ด้าน “เบญจมินทร์” เสียดายไม่ได้เจรจา 4 พื้นที่พิพาท เรียกร้องกัมพูชาใช้กลไกเจรจา

วันที่ 16 มิถุนายน 2568 นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา (JBC) เปิดเผยที่กระทรวงการต่างประเทศ ถึงบรรยากาศการประชุมที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ว่า การประชุมดังกล่าวถือว่าราบรื่นที่สุดตั้งแต่ตนเคยประชุมมา เพราะปกติจะทะเลาะ อัดกันหนักกว่านี้ ซึ่งผลการประชุมนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในแง่ของด้านเทคนิคและการประนีประนอม

พร้อมกันนี้ นายประศาสน์ ยังได้อธิบายขั้นตอนการทำงานของคณะ JBC ว่าทั้งหมดมี 5 ขั้นตอน 2 ระยะ ในระยะที่ 1 ขั้นตอนแรก คือการสอบหาหลักเขตที่ปักไว้สมัยรัชกาลที่ 6 ประมาณปี พ.ศ. 2462-2463 ทั้งหมด 74 หลัก ได้รับการเห็นชอบในปี 2561 ไปแล้ว 45 หลัก ส่วนอีก 29 หลักทั้ง 2 รัฐบาลยังเห็นต่างกัน

ขณะที่การทำงานอีกระยะหนึ่ง คือการทำแผนที่จากถ่ายภาพทางอากาศ เนื่องจากกัมพูชาต้องการให้หาหลักเขตเก่าที่ 6 แต่ไทยมองว่าไม่เพียงพอ เพราะต้องการให้ดำเนินการคล้ายกับประเทศมาเลเซีย ให้เห็นเขตแดนที่ชัดเจนขึ้นเพื่อปักหลักเขตแดนเพิ่มเติม จากนั้นเมื่อได้แผนที่จากภาพถ่ายอากาศแล้วทั้ง 2 ฝ่ายต้องมาพูดคุยกันว่าจะเดินสำรวจเพื่อที่จะปักปันเขตแดนในแนวใด หากเห็นพื้นที่ต่างกันก็ต้องเดินสำรวจทั้ง 2 แนวทาง เป็นทำเส้นทางเป็นคู่มือให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงาน ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเห็นพ้องตรงกันในพื้นที่ ก็นำข้อมูลกลับมาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาเห็นชอบในแผนที่ฉบับใหม่ โดยไม่ต้องใช้แผนที่เดิมจากฝรั่งเศส

ประศาสน์

ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบในหลักเขตแดน 45 จุด

สำหรับผลการประชุม JBC วานนี้ (15 มิถุนายน 2568) ประธานในที่ประชุมของทั้ง 2 ฝ่าย เห็นชอบในหลักเขตแดน 45 จุด ในการประชุมของคณะอนุกรรมาธิการด้านเทคนิค (JTSC) ก่อนหน้านี้ รวมทั้งเห็นในการปฏิบัติงานในการใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในการสร้าง Photo Map โดยใช้ระบบไลดาร์สแกน (LiDAR Scan : Light Detection and Ranging) แต่ขณะนี้ติดปัญหาว่าใครจะทำ จะจ่ายเงิน ซึ่งตามหลักการปฏิบัติทั่วไปคือการช่วยกันจ่ายคนละครึ่ง อีกทั้งการร่วมปฏิบัติงานกับกัมพูชามีความละเอียดอ่อนว่าใครจะเป็นฝ่ายบิน หรือดำเนินการบนเครื่องบินอย่างไร นอกจากนี้ กัมพูชายังเสนอให้สำรวจหลักแดนอื่นนอกจาก 45 หลัก แต่คณะกรรมาธิการของไทยเห็นว่าตอนนี้ยังไม่มีคู่มือการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ รวมถึงการทำงานต้องมี Photo Map ก่อน เพราะมีความกังวลถึงความปลอดภัย และวัตถุระเบิดในพื้นที่

นายประศาสน์ ยังได้อธิบายเพิ่มถึงการประชุมที่มีเนื้อหาละเอียดอ่อน โดยจะเป็นการประชุมกลุ่มเล็ก ซึ่งข่าววาระการประชุมที่มีหลุดออกมา คือวาระก่อนการประชุมกลุ่มเล็กของทั้ง 2 ฝ่าย พร้อมย้ำว่าการทำงานของคณะ JBC คือการทำให้เห็นเขตแดนอย่างชัดเจน พร้อมยกตัวอย่างของประเทศมาเลเซียที่ใช้เวลานานกว่า 12 ปี กับเขตแดน 556 กิโลเมตร โดยที่ไม่มีปัญหาของการเมืองเข้ามาแทรกแซง แต่กับไทยเรียกได้ว่ายังไม่ถึงขั้นตั้งไข่ ไม่รู้ว่าจะสำเร็จได้เมื่อไหร่ อาจจะนาน 15-20 ปีในด้านเทคนิค ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง

ประศาสน์

ปัดเห็นชอบแผนที่ 1:200,000

จากนั้นผู้สื่อข่าวถามถึงความสับสนในการนำสัดส่วนของแผนที่ 1:200,000 และ 1:50,000 ในการประชุม นายประศาสน ตอบว่า ตามข่าวที่ว่าตนไปเห็นชอบแผนที่ 1:200,000 ขอยืนยันว่าไม่มีการพูดคุยกันเลย ซึ่งแผนที่ใหม่นี้เป็นการทำร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย ไม่มีการเกี่ยวข้องกับทั้ง 2 รูปแบบ โดยตามแผนที่ใหม่ที่จะทำร่วมกันใหม่จะเป็นอาจเป็น 1:50,000 เพราะเป็นแผนที่ทางยุทธการมีความละเอียดมากอยู่แล้ว

ส่วนคำถามว่า กัมพูชาได้แจ้งเรื่อง 4 พื้นที่ข้อพิพาทในที่ประชุม และไทยจะมีโอกาสเสนอเข้าหารือในระดับทวิภาคีต่อไปหรือไม่ นายประศาสน ระบุว่า เรื่อง 4 พื้นที่พิพาท (ช่องบก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเหมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย) ทางกัมพูชาได้รับนโยบายจาก นายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ว่าไม่ให้นำเข้าที่ประชุมเลย ซึ่งตนเสียดายที่ไม่นำมาเจรจา เพราะในอดีตเคยมีบุคลากรเข้าไปตรวจสอบพื้นที่เพื่อที่จะหาแนวทางไม่ให้เกิดการบังคับและกำหนดมาตรการในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งก่อนการเข้าร่วมประชุมชุดใหญ่ตนก็ถามย้ำไปแล้วว่าจะนำเรื่องดังกล่าวประชุมด้วยหรือไม่ ฝั่งกัมพูชาก็ยืนยันว่าจะไม่นำเข้าประชุมเนื่องจากได้รับคำสั่งอย่างชัดเจน

ปัดเห็นชอบแผนที่ 1:200,000

จากนั้นผู้สื่อข่าวถามถึงความสับสนในการนำสัดส่วนของแผนที่ 1:200,000 และ 1:50,000 ในการประชุม นายประศาสน ตอบว่า ตามข่าวที่ว่าตนไปเห็นชอบแผนที่ 1:200,000 ขอยืนยันว่าไม่มีการพูดคุยกันเลย ซึ่งแผนที่ใหม่นี้เป็นการทำร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย ไม่มีการเกี่ยวข้องกับทั้ง 2 รูปแบบ โดยตามแผนที่ใหม่ที่จะทำร่วมกันใหม่จะเป็นอาจเป็น 1:50,000 เพราะเป็นแผนที่ทางยุทธการมีความละเอียดมากอยู่แล้ว

ส่วนคำถามว่า กัมพูชาได้แจ้งเรื่อง 4 พื้นที่ข้อพิพาทในที่ประชุม และไทยจะมีโอกาสเสนอเข้าหารือในระดับทวิภาคีต่อไปหรือไม่ นายประศาสน์ ระบุว่า เรื่อง 4 พื้นที่พิพาท (ช่องบก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเหมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย) ทางกัมพูชาได้รับนโยบายจาก นายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ว่าไม่ให้นำเข้าที่ประชุมเลย ซึ่งตนเสียดายที่ไม่นำมาเจรจา เพราะในอดีตเคยมีบุคลากรเข้าไปตรวจสอบพื้นที่เพื่อที่จะหาแนวทางไม่ให้เกิดการบังคับและกำหนดมาตรการในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งก่อนการเข้าร่วมประชุมชุดใหญ่ตนก็ถามย้ำไปแล้วว่าจะนำเรื่องดังกล่าวประชุมด้วยหรือไม่ ฝั่งกัมพูชาก็ยืนยันว่าจะไม่นำเข้าประชุมเนื่องจากได้รับคำสั่งอย่างชัดเจน

ประศาสน์

สำหรับ MOU 2543 เป็นสนธิสัญญาระหว่างไทยกับกัมพูชา เกี่ยวกับเรื่องการปักปันเขตแดน ในข้อ 8 กำหนดไว้ว่า หากมีปัญหา หรือการตีความ หรือการบังคับใช้ MOU ให้ทั้ง 2 ฝ่ายปรึกษาหารือหรือเจรจากันก่อน ขณะที่กฎบัตรสหประชาชาติ เน้นให้คู่กรณีได้พูดคุยกันก่อน และยังมีกลไกอื่นๆ อีกมากก่อนที่จะนำเรื่องไปศาลโลก ซึ่งหากดูข้อเท็จจริงกัมพูชายังไม่เคยพูดคุยเรื่อง 4 พื้นที่ข้อพิพาทกับไทยเลย panacea-project

“เรามีกลไกทวิภาคีที่มีประสิทธิภาพทั้ง JBC, RBC และ GBC จึงขอเรียกร้องให้ฝ่ายกัมพูชากลับมาใช้กลไกที่มีอยู่”

ประศาสน์